บุคคลที่เกี่ยวกับศาสนา (Improtant person in Religious)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา (Vocabulary about religious)

ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิด ความเป็นไป และสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม หลักธรรมคำสอน ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้นๆ

ความสำคัญของศาสนา (Improtant of religious)

  1. สร้างระเบียบความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
  2. เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
  3. ยกระดับจิตใจคนให้สูงขึ้น
  4. เป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม ทําให้คนในสังคมประพฤติในแนวทางที่ถูกต้อง
  5. เป็นแหล่งกำเนิดศิลปะและวัฒนธรรม

ศัพท์บุคคลที่เกี่ยวกับศาสนา

ภาษาอังกฤษ

คำอ่าน

คำแปล

Abbess

แอบบิส

บาทหลวงหญิง

Nun

นัน

แม่ชี

Padre

พาเดร

บาทหลวง

Parson

พาเซิน

บาทหลวง

Pastor

พาสเทอะ

พระ,บาทหลวง

Presbyter

เพรสบิเทอะ

พระ

Monk

มังค์

พระสงฆ์

Buddhist

บูดดิสท

พุทธศาสนิกชน

Patriarch

เพทรริอาค

พระสังฆราช

Priest

พรีส

นักบวช

Rector

เรคเทอะ

พระอธิการ

Reverend

เรฟเวเรินด์

บาทหลวง

Shepherd

เชฟเฟิด

บาทหลวง

Undertaker

อันเดอะเทคเคอะ

สัปเหร่อ

กลุ่มศาสนา (Religious Group)

ศาสนาแบบอินเดีย

ศาสนาแบบอินเดีย หรือ ธรรมิกศาสนา คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์ ศาสนาเหล่านี้ถือว่าเป็นศาสนาตะวันออก แม้ศาสนาแบบอินเดียจะเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์อินเดีย แต่ก็ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในอนุทวีปอินเดียเท่านั้น

ศาสนาเชน เป็นศาสนาเก่าแก่ของอินเดีย เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า คำว่า เชน หรือ ไชนะ มาจากภาษาสันสกฤต ไชนะ อันแปลว่าผู้ชนะ และสามารถลุยข้ามสายน้ำแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ ศาสนาเชนเชื่อว่าเป็นศาสนาที่เป็นนิรันดร์ ซึ่งมี “พระอาทินาถ” เป็นองค์แรกในวงจรจักรวาลนี้

ศาสนาพุทธ เกิดขนในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาอเทวนิยมที่มีอายุกว่า 2,500 ปี มีผู้นับถือเป็นอันดับ 4 ของโลก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน ทวีปเอเชีย โดยมีพระโคตมพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ

ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิข เป็นศาสนาสำคัญหนึ่งของโลก โดยคำว่าสิขมาจากภาษาสันสกฤต ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาอินเดียที่มีต้นกำเนิดในแคว้นปัญจาบ ทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย คุรุศาสดาพระองค์แรก คุรุนานัก

ศาสนาพรามหณ์ ฮินดู เกิดขึ้นในอินเดีย มีอายุเก่าแก่กว่าพระพุทธศาสนาประมาณ 900 ถึง 1,000 ปี จึงจัดเป็นศาสนาที่เก่าแก่กว่าบรรดาศาสนาทั้งหลายที่มีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นศาสนาพหุเทวนิยม

ศาสนาอับราฮัม

เป็นคำที่ใช้เรียกศาสนาสำคัญ 4 ศาสนาที่เป็นลัทธิเทวนิยมที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งทั้งสี่ศาสนานับอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนา

ศาสนายูดาห์ หรือ ศาสนายิว คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิว มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล

ศาสนาคริสต์ ถือกําเนิดขึ้นนในดินแดนปาเลสไตน์ ทวีปเอเชีย แต่เผยแผ่เข้าไปแพร่หลายในทวีปยุโรป แล้วแพร่หลายไปสู่ทวีปตางๆ  ทั่วโลกศาสนาคริสต์มีพัฒนาการมาจากศาสนายูดายหรือศาสนายิว มีลักษณะเป็นศาสนาเอกเทวนิยม โดยมีพระเจ้าสูงสุดคือ พระยะโฮวา

ศาสนาอิสลาม เป็นภาษาหรับ แปลว่า สันติ การยินยอม หมายถึง การยินยอมต่อพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อสันติ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า ชาวมุสลิม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีวิวัฒนาการมาจากศาสนายิวและศาสนาคริสต์ เกิดขึ้นในประเทศ ซาอุดิอาระเบีย เมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว มีลักษณะเป็นศาสนาเอกเทวนิยม มีพระเจ้าสูงสุดคือ พระอัลเลาะห์ ซึ้งชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระผู้สร้าง ผู้ค้ำจุน และผู้ฟื้นฟูโลกมนุษย์ และมีพระศาสดา คือ นบีมูฮำมัด

ศาสนาบาไฮ หรือ ลัทธิบาไฮ เป็นศาสนาที่สอนคุณค่าอันเป็นสาระสำคัญของศาสนาทั้งปวง และเอกภาพของผู้คนทั้งปวง พระบะฮาอุลลอฮ์ก่อตั้งขึ้นในปี 1863 ศาสนาบาไฮมีบุคคลสำคัญอยู่สามบุคคล คือ พระบาบ (1819–1850) ที่เชื่อว่าเป็นผู้นำข่าวดีมาประกาศ สอนว่าพระเป็นเจ้าจะทรงส่งผู้เผยพระวจนะเช่นเดียวกับพระเยซูหรือมูฮัมหมัดมา

ศาสนาแบบอิหร่าน

ประเทศอิหร่านนับถือศาสนผอิสลามนิกายชีอะฮ์ร้อยละ 90-95 ถือเป็นศาสนาประจำชาติ ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและลัทธิศูฟีอีกร้อยละ 5-10 และศาสนาที่ไม่ใช่อิสลาม ได้แก่ ศาสนาบาไฮ ศาสนามันดา ศาสนายาร์ซาน ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนายูดาห์

ศาสนามาณีกี หรือ ศาสนามานี เป็นศาสนาแบบ เอกเทวนิยม และไญยนิยม ที่มีต้นกำเนิดในจักรวรรดิแซสซานิด มีพระมานีหัยยา เป็นศาสดา ศาสนามานีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและภาษาซีรีแอก

ศาสนาโซโรอัสเตอร์ หรือ มาซดะยัสนา เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คน ศาสนาโซโรอัสเตอร์เกิดในภูมิภาคตะวันตกของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

ศาสนาโซโรอัสเตอร์ หรือ มาซดะยัสนา เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คน ศาสนาโซโรอัสเตอร์เกิดในภูมิภาคตะวันตกของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

ลัทธิบาบี หรือ อัลบาบียะฮ์ เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่พระบาบก่อตั้งขึ้นในประเทศอิหร่าน เขาประกาศตัวว่าเป็นทายาทของกาซิม รัชติ ผู้นำทางศาสนาคนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาได้อ้างว่าตนเองเป็นประตูสู่อิหม่ามมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 ตามความเชื่อของมุสลิมชีอะฮ์ ต่อมาเขากลับอ้างว่าเป็นอิหม่ามมะฮ์ดีเสียเอง และในท้ายที่สุดอ้างตนเป็นผู้เผยพระวจนะ ความเคลื่อนไหวของเขาและสาวกเรียกว่าขบวนการบาบี

ศาสนาเอเชียตะวันออก

ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มมองโกลอยด์ จะมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมคล้ายกัน เพราะได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีน และอินเดียในด้านพระพุทธศาสนา

ลัทธิกาวด่าย เป็นลัทธิเอกเทวนิยม ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ชื่อเต็มของลัทธินี้คือ ดั่ยเด่าตามกี่โฝโดะ ญลักษณ์ของลัทธิคือรูป พระเนตรซ้ายของพระเจ้า คล้ายกับสัญลักษณ์ดวงตาอิลลูมินาตี มีความหมายถึงหยินหยาง ปัจจุบันลัทธิกาวด่ายเป็นที่นิยมนับถือในเวียดนามตอนใต้และตอนกลาง รวมถึงในชาวเวียดนามโพ้นทะเลด้วย

ศาสนาแบบจีน

พุทธศาสนาในประเทศจีนส่วนใหญ่เป็นนิกายมหายาน ซึ่งมีประเพณี คำสอน และหลักความเชื่อที่แตกต่างจากนิกายเถรวาท แต่โดยเนื้อแท้แล้วทั้งสองนิกายมุ่งสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ แสวงหาการหลุดพ้น ในช่วงแรกสมัยราชวงศ์ฮั่นการนับถือศาสนาในประเทศจีนจะนับถือกันในวงแคบ คือ ในหมู่ข้าราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ยังคงนับถือตามหลักลัทธิขงจื่อหรือลัทธิเต๋า

ศาสนาชาวบ้านจีน หรือ ศาสนาเฉิน หรือ เทวนิยมแบบจีน เป็นขนบทางศาสนาของชาวฮั่น ที่มาจากการบูชาบรรพชนและพลังธรรมชาติ การไล่ผี รวมถึงความเชื่อในระบบธรรมชาติที่เป็นไปตามอิทธิพลของมนุษย์และอมนุษย์ คติเหล่านี้เริ่มผสมผสานกับความเชื่อเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของศาสนาพุทธ และลำดับชั้นเทพเจ้าของลัทธิเต๋า จนก่อให้เกิดระบบศาสนาที่แพร่หลายดังปัจจุบัน

ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้ลัทธิเต๋าในแต่ละนิกายจะมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ “อู๋เว่ย” หรือ ความไร้เจตนา ความเป็นธรรมชาติ และความเรียบง่าย

ลัทธิขงจื๊อ หรือ ศาสนาขงจื๊อ หรือ ลัทธิหยู เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น งานสอนด้านจริยธรรม สังคมการเมือง ในยุคชุนชิว

ลัทธิบัวขาว เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป มีหลักความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างศาสนามาณีกีกับศาสนาพุทธ มีหลักปฏิบัติคือการกินเจอย่างเคร่งครัด ให้บุรุษกับสตรีมีปฏิสัมพันธ์กันได้ค่อนข้างเสรีซึ่งขัดกับธรรมเนียมจีนสมัยนั้น และปกปิดพิธีกรรมของตนเป็นความลับ โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นเพียงการไหว้เจ้า

ลัทธิเซียนเทียนเต้า เป็นลัทธิศาสนาหนึ่งที่หวง เต๋อฮุย ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสืบความเชื่อมาจากลัทธิบัวขาวในสมัยราชวงศ์หยวน ลัทธิเซียนเทียนเต้าเป็นต้นกำเนิดของอีก 5 ลัทธิที่แยกตัวออกมาภายหลัง ได้แก่ ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน ซึ่งนับถือพระแม่องค์ธรรมคือพระเป็นเจ้า ถือการกินเจ รอคอยการมาเกิดของพระศรีอริยเมตไตรย และต่อต้านการปกครองกดขี่ของต่างชาติคือชาวมองโกลในขณะนั้น

ลัทธิอนุตตรธรรม หรือเรียกตนเองว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง คำสอนเป็นการผสานความเชื่อระหว่างลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธแบบจีน ทั้งยังยอมรับขนบที่มาจากต่างประเทศ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามด้วย

ศาสนาแบบญี่ปุ่น

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นับถือลัทธิชินโตกับศาสนาพุทธ ประมาณ 80% ทำพิธีชินโต สักการะบรรพบุรุษและคามิที่แท่นบูชาประจำบ้านกับศาลเจ้าชินโต ซึ่งมีจำนวนมากพอๆ กับศาสนาพุทธ การผสานระหว่างทั้งสอง เรียกโดยทั่วไปว่า ชินบุตสึ ชูโง ก่อนที่จะมีรัฐชินโตในศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือชินโต

ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า เทพแปดล้านองค์

ลัทธิช็อนโด หรือ ชอนโดเกียว ศาสนาแห่งวิถีสวรรค์ ศาสนานี้แสดงออกอย่างเปิดเผยว่า รักชาติ และก่อตั้งมาเพื่อต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการรุกรานของต่างชาติ ทงฮัก ซึ่งมีความหมายว่า การเรียนรู้แบบตะวันออก และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ชอนโดเกียว ผู้นำศาสนานี้มีบทบาทสำคัญในขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นสมัยอาณานิคม

เท็นริเกียว บางครั้งเขียนเป็น ลัทธิเท็นริ เป็นศาสนาญี่ปุ่นใหม่ ที่ไม่ได้นับถือแบบเอกเทวนิยมหรือสรรพเทวนิยม มีต้นกำเนิดจากหลักคำสอนของหญิงที่มีชื่อว่ามิกิ นากายามะ ซึ่งผู้ติดตามเรียกเธอว่า โอยาซามะ ผู้ติดตามเท็นริเกียวเชื่อว่าเทพผู้สร้าง เทพแห่งความจริง

ศาสนาแบบแอฟริกัน

ศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือ ศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ 46 รองลงมาคือศาสนาอิสลาม ประมาณร้อยละ 42 ที่เหลือนับถือศาสนาอื่นอื่น ๆ และผีสางเทวดา ร้อยละ 12

ศาสนาอียิปต์โบราณ เทพปกรณัมแห่งไอยคุปต์ หรือ ศาสนาของชาวไอยคุปต์ (อียิปต์โบราณ) คือศาสนาหรือความเชื่อในรูปแบบพหุเทวนิยม ของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อกว่า 3,000 ปีที่แล้ว เป็นศาสนาที่นำสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ มาผูกโยงกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยชาวอียิปต์โบราณจะนับถือเทพต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น

ศัพท์กลุ่มศาสนา

อังกฤษ

คำอ่าน

คำแปล

Abrahamic religions

อับราฮัมมิค รีลิจเจิน

กลุ่มศาสนาอับราฮัม

Judaism

จูดะอิสซึม

ศาสนายูดาห์

Christianity

คริสชีแอนนิที

ศาสนาคริสต์

Islam

อิสเลิม

ศาสนาอิสลาม

Bahai Faith

บาไฮ เฟธ

ศาสนาบาไฮ

Iran

อิหร่าน

อิหร่าน

Manichaeism

มาณีเซอิสซึม

ศาสนามาณีกี

Zoroastrianism

โซโรแอสเทรียนนิสซึม

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

Babism

บาบีซึม

ลัทธิบาบี

Indian religions

อินเดียน รีลิจเจิน

ศาสนาแบบอินเดีย

Hinduism

ฮินดูอิสซึม

ศาสนาฮินดู

Jainism

ไจนิสซึม

ศาสนาเชน

Buddhism

บูดดิซึม

ศาสนาพุทธ

Sikhism

ซีคคิสซึม

ศาสนาซิกข์

Caodaism

กาวด่ายซึม

ลัทธิกาวด่าย

Chinese Buddhism

ไชนิส บูดดิซึม

ศาสนาแบบจีน

East Asia Religions

อีส เอเชีย รีลิจเจิน

ศาสนาเอเชียตะวันออก

Shenism

ไชนีสซึม

ศาสนาชาวบ้านจีน

Taoism

เดาอิสซึม

ลัทธิเต๋า

Confucianism

คันฟิวชะนิสซึม

ลัทธิขงจื๊อ

White Lotus

ไวน์ โลทัส

ลัทธิบัวขาว

Xiantian Dao

เซียนเทียน เตา

ลัทธิเซียนเทียนเต้า

Yiguandao

อี้กั่วเทียน

ลัทธิอนุตตรธรรม

Japanese Religion

แจพพะนีส รีลิจเจิน

ศาสนาแบบญี่ปุ่น

Shinto

ชินโท

ชินโต

Cheondoism

ช็อนโดนิสซึม

ลัทธิช็อนโด

Tenrikyo

เท็นริเกียว

เท็นริเกียว

African Religion

แอฟริเคิน รีลิจเจิน

ศาสนาแบบแอฟริกัน

Ancient Egyptian religion

เอนเชิน อีจิพเชิน รีลิจเจิน

ศาสนาอียิปต์โบราณ

Polytheistic

โพลิตี้อิสติก

พหุเทวนิยม

เครดิต : pieceofenglish.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ : Traffic signs vocabulary